บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

พยัญชนะบาลี-พยัญชนะไทย



ท่านที่ต้องการจำพยัญชนะไทยเพื่อการสอบเข้ารับราชการนั้น ควรจะต้องท่องจำพยัญชนะบาลีกับพยัญชนะสันสกฤตไว้ด้วย เพราะ ข้อสอบออกบ่อยมาก

ที่ต้องออกบ่อยนั้น เพราะ ภาษาไทยเรา ยืมคำมาจากภาษาบาลีกับสันสกฤตมาก ยกตัวอย่างง่ายๆ ชื่อของคนไทยที่เป็นชื่อจริงส่วนใหญ่เป็นคำภาษาบาลี-สันสกฤต

สำหรับชื่อเล่นในปัจจุบันเป็นคำยืมมาจากภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่

โปรดจำไว้ว่า ตัวอักษรที่เขียนไปว่าเป็นภาษาบาลี-สันสกฤตนั้นคือ ตัวอักษรไทย เรายืมภาษาบาลี-สันสกฤตมาเฉพาะ “เสียง” เท่านั้น

ขอยกตัวอย่างตารางตัวอักษรของภาษาบาลี-สันสกฤตอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้


ต่อไปเป็นแผนผังตัวอักษรไทยที่ผมดัดแปลงมาจากตารางตัวอักษรของภาษาบาลี-สันสกฤต
 

จะเห็นว่า ผมพยายามรักษาตำแหน่งเดิมของตัวอักษรของภาษาบาลี-สันสกฤตไว้ ในการสอบทุกครั้ง ก่อนทำข้อสอบ ผมจะใช้เวลาทำตารางดังกล่าวก่อน โดยเขียนไว้ที่ด้านหลังของกระดาษคำถาม

ผู้ที่จะเตรียมสอบเข้ารับราชการ ควรที่จะใช้เวลาว่างๆ หัดเขียนตารางดังกล่าวไว้ให้จำขึ้นใจ เมื่อเข้าไปในสนามสอบ ท่านจะมีความมั่นใจอย่างสูง

ตัวอักษรไทยที่เป็นสีต่างกันจำนวน 3 สี นั้น ผมแบ่งตามตำราของพระยาอุปกิตศิลปสาร โดยจำแนกตามวิธีการใช้เป็น 3 พวกคือ

(๑) พยัญชนะกลาง คือพยัญชนะที่ใช้ทั่วไปทั้งไทย บาลี และสันสกฤต มี ๒๑ ตัว คือ

ก ข ค ง จ ฉ ช ต ถ ท น ป ผ พ ม ย ร ล ว ส ห

ในตารางคือตัวอักษรสีน้ำเงิน

(๒) พยัญชนะเดิม คือพยัญชนะที่ติดมาจากแบบเดิม คือบาลีกับสันสกฤต ในภาษาไทยมีใช้ไม่มาก มี ๑๓ ตัว คือ

ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ฬ ศ ษ

ในตารางคือตัวอักษรสีดำ

(๓) พยัญชนะเติม คือพยัญชนะที่ไทยคิดเพิ่มเติมขึ้น มี ๑๐ ตัว คือ

ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ ฮ

ในตารางคือตัวอักษรสีแดง

ถ้าท่านจำตารางดังกล่าวได้อย่างแม่นยำ เมื่อข้อสอบถามเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ท่านจะทำข้อสอบได้แน่ๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น