บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

เสียงพยัญชนะไทย

พยัญชนะไทยจำนวน 44 ตัวนั้น มี 21 เสียงเท่านั้น กล่าวคือ เสียงของพยัญชนะหลายตัว มีเสียงเดียวกัน  ดังนี้

[1] เสียง /k/ มี 1 ตัวอักษร คือ ก
[2] เสียง /kh/ มี 5 ตัวอักษร คือ ข-ฃ-ค-ฅ-ฆ
[3] เสียง /ng/ มี 1 ตัวอักษร คือ ง
[4] เสียง /c/ มี 1 ตัวอักษร คือ จ
[5] เสียง /ch/ มี 3 ตัวอักษร คือ ฉ-ช-ฌ
[6] เสียง /s/ มี 4 ตัวอักษร คือ ซ-ศ-ษ-ส
[7] เสียง /y/ มี 2 ตัวอักษร คือ ญ-ย
[8] เสียง /d/ มี 3 ตัวอักษร คือ ฎ-ฑ-ด
[9] เสียง /t/ มี 2 ตัวอักษร คือ ฏ-ต
[10] เสียง /th/ มี 6 ตัวอักษร คือ ฐ-ฑ-ฒ-ถ-ท-ธ
[11] เสียง /n/ มี 2 ตัวอักษร คือ ณ-น
[12] เสียง /b/ มี 1 ตัวอักษร คือ บ
[13] เสียง /p/ มี 1 ตัวอักษร คือ ป
[14] เสียง /ph/ มี 3 ตัวอักษร คือ ผ-พ-ภ
[15] เสียง /f/ มี 2 ตัวอักษร คือ ฝ-ฟ
[16] เสียง /m/ มี 1 ตัวอักษร คือ ม
[17] เสียง /r/ มี 1 ตัวอักษร คือ ร
[18] เสียง /l/ มี 2 ตัวอักษร คือ ล-ฬ
[19] เสียง /w/ มี 1 ตัวอักษร คือ ว
[20] เสียง /h/ มี 2 ตัวอักษร คือ ห-ฮ
[21] เสียง /?/ มี 1 ตัวอักษร คือ อ

การกำหนดว่า เสียงพยัญชนะไทยมี 21 เสียงเป็นการกำหนดของนักภาษาศาสตร์  ตำราหลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร กำหนดว่า มี 20 เสียง

ที่เป็นเช่นนั้นก็เป็นเพราะว่า พระยาอุปกิตศิลปะสารเห็นว่า เสียง “อ” ไม่ใช่เป็นเสียงพยัญชนะ เป็นแต่เพียง “ทุ่น” ให้สระเกาะเท่านั้น


ในการจำเสียงพยัญชนะดังกล่าว ถ้าจำแผนผังที่ผมสร้างขึ้นมา จะทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น ผมได้ดัดแปลงสีของแผนผัง ดังนี้ 



จะเห็นว่า พยัญชนะที่มีเสียงเดียวกัน จะอยู่ใกล้กัน  การจำตารางดังกล่าวได้ ก็สามารถทำให้ท่านจำเสียงพยัญชนะเดียวกันได้ด้วย

บางท่านอาจจะสงสัยว่า เสียงขอตัวอักษรในกลุ่มนี้ เป็นเสียงเดียวกันได้อย่างไร เพราะ อ่านแล้วดูเหมือนว่า เป็นคนละเสียงกัน

[2] เสียง /kh/ มี 5 ตัวอักษร คือ ข-ฃ-ค-ฅ-ฆ

ข-ฃ- อ่าน ขอไข่ ขอฃวต
ค-ฅ-ฆ อ่าน  คอควาย ฅอฅน คอระฆัง

เสียง “ขอ” กับ เสียง “คอ” ไม่น่าจะเป็นเสียงเดียวกัน เพราะ เป็นคนละเสียงวรรณยุกต์กัน

เสียงในกลุ่มข้างล่างนี้ก็เช่นเดียวกัน น่าจะเป็นคนละเสียงกัน

[5] เสียง /ch/ มี 3 ตัวอักษร คือ ฉ-ช-ฌ
[6] เสียง /s/ มี 4 ตัวอักษร คือ ซ-ศ-ษ-ส
[10] เสียง /th/ มี 6 ตัวอักษร คือ ฐ-ฑ-ฒ-ถ-ท-ธ
[14] เสียง /ph/ มี 3 ตัวอักษร คือ ผ-พ-ภ
[15] เสียง /f/ มี 2 ตัวอักษร คือ ฝ-ฟ
[20] เสียง /h/ มี 2 ตัวอักษร คือ ห-ฮ

ขออธิบายด้วยหลักการของทางภาษาศาสตร์ดังต่อไปนี้

ในการกำหนดว่าเสียงพยัญชนะใดเป็นเสียงเดียวกันนั้น  นักภาษาศาสตร์เขาจะดูตำแหน่งของอวัยวะในการออกเสียงว่า อยู่ในตำแหน่งเดียวกันหรือไม่ 


ขอให้ดูภาพ ด้านล่าง


ลมเมื่อออกมาจากปอด คงมีเสียง แต่ยังไม่นับเป็นเสียงในภาษา เมื่อผ่านเส้นเสียงมาแล้ว จะเริ่มเป็นเสียงในภาษา

ลมนั้น จะถูกบังคับโดยอวัยวะในการออกเสียงต่างๆ (ดูในภาพ) เสียงที่ออกมาจากปอดก็จะแตกต่างกันไป 

มนุษย์สามารถออกเสียงพยัญชนะได้เป็นร้อยๆ เสียง  แต่ในแต่ละภาษา  ผู้ใช้ภาษาจะเลือกมาเป็นเสียงในภาษาไม่มากนัก

เช่น ภาษาไทยมี 21 เสียง ภาษาอังกฤษมี 26 เสียง เป็นต้น

แล้วในการจัดเสียงพยัญชนะต่างๆ ว่า กลุ่มใดเป็นเสียงเดียวกันนั้น นักภาษาศาสตร์เขาจะ “ฟัง” เฉพาะเสียงพยัญชนะจริงๆ ไม่ใช่เสียงพยัญชนะที่ผสมสระกับวรรณยุกต์แล้ว

ตัวอย่าง

ข-ฃ- อ่าน ขอไข่ ขอฃวต
ค-ฅ-ฆ อ่าน  คอควาย ฅอฅน คอระฆัง

เสียง /ขอ/  เสียง /คอ/ นั้น เป็นเสียงที่ผสมสระ กับวรรณยุกต์ไว้แล้ว  เสียง  /kh/  จริงๆ เขาออกกันแบบนี้

ให้เราเตรียมตัวออก เสียง /ขอ/  กับเสียง /คอ/  ลองออกเสียงมาก่อนก็ได้  สัก 2-3 เที่ยว /ขอ/  /คอ/, /ขอ/  /คอ/, /ขอ/  /คอ/

ต่อไป ให้เราออกเสียงพยัญชนะอย่างเดียว  คือ เตรียมตำแหน่งของอวัยวะต่างๆ เหมือนการออกเสียง /ขอ/  /คอ/ แต่พ่นลมออกมาเฉยๆ

เสียงมันจะคล้ายๆ /ข้ะ/

จะเห็นว่า เสียง /ขอ/ กับเสียง /คอ/ เป็นเสียงเดียวกัน 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น