ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง
ข้อที่ 1
พยัญชนะ ญ ณ น ร ล ฬ จัดอยู่ในพวกไหน
ก. พยัญชนะเดิม
ข. พยัญชนะกลาง
ค. พยัญชนะตัวสะกดในแม่กน
ง. พยัญชนะตัวสะกดในแม่กม
ข้อที่ 2. ข้อใดเป็นคำเป็น
ก. โกรธนัก
ข. นัดพบ
ค. น่ากิน
ง. แรกรัก
ข้อที่ 3. ข้อใดเป็นคำตายทุกคำ
ก. เทพเจ้า
ข. ศักดิ์สิทธิ์
ค. ฤทธิ์ร้าย
ง. วายปราณ
ข้อที่ 4. คำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา
จัดว่าเป็นคำชนิดใด
ก. คำเป็น
ข. คำตาย
ค. คำลหุ
ง. คำผวน
ข้อที่ 5. ข้อใดเป็นพยัญชนะอุสุม
ก. ส
ซ ฌ
ข. ษ
ส ห
ค. ษ
ศ ศ
ง. ส
ษ ซ
|
เฉลย
ข้อที่ 1 พยัญชนะ ญ ณ น ร ล ฬ
จัดอยู่ในพวกไหน
ก. พยัญชนะเดิม
ข. พยัญชนะกลาง
ค. พยัญชนะตัวสะกดในแม่กน
ง. พยัญชนะตัวสะกดในแม่กม
|
วิเคราะห์
ในการทำข้อสอบข้อนี้
เราดูตารางที่เราทำไว้ คือ ตารางที่แบ่งพยัญชนะออกเป็น 3 กลุ่ม
และแบ่งกลุ่มของตัวสะกดด้วยดังภาพด้านล่าง
ตัวอักษรไทยที่เป็นสีต่างกันจำนวน 3 สี นั้น
ผมแบ่งตามตำราของพระยาอุปกิตศิลปสาร โดยจำแนกตามวิธีการใช้เป็น 3 พวกคือ
(๑) พยัญชนะกลาง คือพยัญชนะที่ใช้ทั่วไปทั้งไทย
บาลี และสันสกฤต มี ๒๑ ตัว คือ ก ข ค ง จ ฉ ช ต ถ ท น ป ผ พ ม ย ร ล ว ส ห ในตารางคือตัวอักษรสีน้ำเงิน
(๒) พยัญชนะเดิม คือพยัญชนะที่ติดมาจากแบบเดิม
คือบาลีกับสันสกฤต ในภาษาไทยมีใช้ไม่มาก มี ๑๓ ตัว คือ ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ฬ ศ
ษ ในตารางคือตัวอักษรสีดำ
(๓) พยัญชนะเติม
คือพยัญชนะที่ไทยคิดเพิ่มเติมขึ้น มี ๑๐ ตัว คือ ฃ
ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ ฮ ในตารางคือตัวอักษรสีแดง
จะเห็นว่า ญ ณ น ร ล ฬ ไม่ใช่พยัญชนะกลาง
ไม่ใช่พยัญชนะเดิม แต่เป็นพยัญชนะตัวสะกดในแม่กน
[อยู่ในแถบสีม่วง แต่ทำสีม่วงทั้งหมดไม่ได้ เพราะ
มีตัวสะกดแม่อื่นอยู่ด้วย]
คำตอบที่ถูกต้อง
คือ ข้อ ค
ข้อที่ 2. ข้อใดเป็นคำเป็น
ก. โกรธนัก
ข. นัดพบ
ค. น่ากิน
ง. แรกรัก
|
วิเคราะห์
ในการทำข้อสอบข้อนี้ ต้องดูตารางในข้อที่ผ่านมา
และ เราต้องรู้ว่า คำเป็นคืออะไร รวมถึงคำตายคืออะไรด้วย
คำเป็น หมายถึง
คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงได้สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
- คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่
ก กา เช่น มา นี มี ตา มา ดู ปู ฯลฯ
- คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กง
กน กม เกย เกอว เช่น กลาง คืน ลืม เลย เชียว ฯลฯ
- คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ
ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เอา ฯลฯ
คำตาย หมายถึง
คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงไม่สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
- คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่
ก กา (ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา) เช่น สุ จิ ปุ ลิ ฯลฯ
- คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กก
กด กบ เช่น ยก ทัพ ตัด บท ฯลฯ
เทคนิคการจำ
- คำไหนออกเสียงลากยาวต่อไปได้
คำนั้นเป็นคำเป็น
- คำไหนออกเสียงลากยาวต่อไปไม่ได้
คำนั้นเป็นคำตาย
ในการทำข้อสอบข้อนี้ เราพิจารณาดูว่า
ข้อไหนมีคำตายอยู่ด้วย ข้อนั้นก็ไม่ถูก
เพราะ ข้อที่ถูกต้องต้องเป็นคำเป็นทุกคำ
ในตัวเลือกทั้ง 4 ข้อนี้ คำที่มีสีดำคือ คำตาย
ก. โกรธนัก
ข. นัดพบ
ค. น่ากิน
ง. แรกรัก
ดังนั้น ข้อ ค. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อที่ 3. ข้อใดเป็นคำตายทุกคำ
ก. เทพเจ้า
ข. ศักดิ์สิทธิ์
ค. ฤทธิ์ร้าย
ง. วายปราณ
|
วิเคราะห์
ข้อนี้
ใช้หลักการเดียวกับข้อที่ผ่านมา แต่ในตัวเลือกนั้น ให้หาคำเป็น เพราะ
ถ้าข้อใดมีคำเป็นอยู่ข้อนั้นก็ไม่ถูกต้อง
ในตัวเลือกทั้ง 4 ข้อนี้ คำที่มีสีแดงคือ คำเป็น
ก. เทพเจ้า
ข. ศักดิ์สิทธิ์
ค. ฤทธิ์ร้าย
ง. วายปราณ
ดังนั้น
คำตอบที่ถูกต้อง คือ ข้อ ข
ข้อที่ 4. คำที่ประสมด้วยสระ
อำ ไอ ใอ เอา จัดว่าเป็นคำชนิดใด
ก. คำเป็น
ข. คำตาย
ค. คำลหุ
ง. คำผวน
|
วิเคราะห์
จากหลักการของข้อที่ผ่าน คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.
ข้อที่ 5. ข้อใดเป็นพยัญชนะอุสุม
ก. ส
ซ ฌ
ข. ษ
ส ห
ค. ษ ส ศ
ง. ส
ษ ซ
|
วิเคราะห์
พยัญชนะอุสุม
คือ พยัญชนะที่ออกเสียงมีลมเสียดแทรกออกทางไรฟัน คือ ศ
ษ ส
ดังนั้น ข้อ ค. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง